สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 11-17 ธันวาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 61.928 ล้านไร่ ผลผลิต 25.569 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.838 ล้านไร่ ผลผลิต 26.712 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 425 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 1.45 ร้อยละ 4.28 และร้อยละ 2.82 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วง ขาดแคลนน้ำ ส่งผลให้เกษตรกรในบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่ลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนน้อย ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโตได้ไม่เต็มที่ ประกอบกับบางพื้นที่พบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น โรคไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566 - พฤษภาคม 2567 โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 25.026 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.88 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2567 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.877 ล้านไร่ ผลผลิต 6.351 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 643 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2566 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.099 ล้านไร่ ผลผลิต 7.199 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตต่อไร่ 649 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 11.01 ร้อยละ 11.78 และร้อยละ 0.92 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติน้อยกว่าปี 2566 ส่งผลให้น้ำต้นทุนไม่เพียงพอ เกษตรกรบางพื้นที่จึงปล่อยที่นาให้ว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2567 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากที่สุดช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2567 ปริมาณรวม 4.260 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 67.08
ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 การตลาด
มาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67
มติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือก ปีการผลิต 2566/67 จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 3 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 10,500 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 10,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 9,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 10,000 บาท โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 7 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป เป้าหมาย 1 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.85 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3.85 ต่อปี
3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566) โดย ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ขึ้นทะเบียนกับ   กรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
4) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2566/67 (มติ ครม.วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกรได้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 - 31 มีนาคม 2567 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2567) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4
1.3 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,509 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,289 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.66
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,250 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 10,080 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน   
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 20,200 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.71
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 860 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,172 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 847 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,548 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 624 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 634 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,243 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ 631 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,012 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 231 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 629 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22,068 บาท/ตัน) ราคาเพิ่มขึ้นจากตันละ      626 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21,838 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 230 บาท
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.0835 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อินโดนีเซีย
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทหารชั้นประทวนในหมู่บ้านต่างๆ หรือที่เรียกว่า บาบินซา (Babinsa) ช่วยเหลือชาวนาในการเพาะปลูกข้าว เนื่องจากการเพาะปลูกข้าวในช่วงฤดูแล้ง ปี 2567 เริ่มล่าช้ากว่ากำหนดจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง โดยคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตข้าวในประเทศ 30.9 ล้านตัน ลดลงจาก 31.53 ล้านตัน ของปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ต้องเพิ่มการนำเข้าข้าวในช่วงที่ราคาปรับสูงขึ้น
ทั้งนี้ อุปทานข้าวทั่วโลกมีจำกัด เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้สภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร้อนและแห้งแล้งกว่าปกติ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตข้าวลดลงทั้งในประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ โดยราคาข้าวปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 ซึ่งเป็นระดับราคาที่สูงที่สุดในรอบ 15 ปี หลังจากที่อินเดียประกาศจำกัดการส่งออกข้าวขาว    ที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.76 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.71
และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.01 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.42
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.06 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.28 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 290.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,139.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 293.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,204.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02 และลดลง
ในรูปของเงินบาทตันละ 2,065.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 434.00 เซนต์ (5,186.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 465.00 เซนต์ (6,465.00 บาท/ตัน)
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.67 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 1,279.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.049 ล้านไร่ ผลผลิต 27.941 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.088 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มีพื้นที่
เก็บเกี่ยว 9.350 ล้านไร่ ผลผลิต 30.732 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.287 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 3.22 ร้อยละ 9.08 และร้อยละ 6.05 ตามลำดับ โดยเดือนธันวาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 2.696 ล้านตัน (ร้อยละ 9.65 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2567 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ปริมาณ 16.452 ล้านตัน (ร้อยละ 58.88 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังเริ่มทยอยออกสู่ตลาด แต่ยังมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในระดับสูง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 3.03 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.98
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.34 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.56 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.91
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.80 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 8.80 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.30 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 19.30 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 272.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,660 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 272.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,580 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,560 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่จากตันละ 580.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (20,380 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนธันวาคมจะมีประมาณ 1.100 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.198 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.403  ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.253 ล้านตันของเดือนพฤศจิกายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 21.60 และร้อยละ 21.74 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.88 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.08 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.94
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.00 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.00 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.33
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินเดียนำเข้าน้ำมันปาล์มในเดือนพฤศจิกายน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 23 จากเดือนก่อน อยู่ที่ 869,491 ตัน เนื่องจากส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันปาล์มกับราคาน้ำมันพืชคู่แข่งเพิ่มขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,664.76 ริงกิตมาเลเซีย (28.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,621.77 ริงกิตมาเลเซีย (27.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.19
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 949.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.71 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 951.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.16
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
          - วันที่ 11 ธันวาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังเร่งออกมาตรการเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับชาวไร่อ้อยกว่า 4 แสนราย ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกประมาณ
11 ล้านไร่ทั่วประเทศ จากการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กนอ.) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2566/67 ในอัตราเฉลี่ยที่ 1,420 บาทต่อตันอ้อย ทั้งนี้ การเปิดหีบอ้อยของฤดูการผลิตปี 2566/67 ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2566 โดยคาดว่าปีนี้จะมีผลผลิตอ้อยไม่เกิน 80 ล้านตัน ลดลงจากฤดูการผลิตปี 2565/66 เนื่องจากปัญหาภัยแล้ง ประกอบกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชาวไร่อ้อยบางส่วนปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นทดแทน (ที่มา: มติชนออนไลน์)
 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
- แหล่งข่าวในตลาดของประเทศอินเดีย กล่าวว่า ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานใน รัฐอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) และรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ลดลงเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2566 และอาจลดลงอีกครั้งในอีกไม่กี่วันข้างหน้า โดยแหล่งข่าวอธิบายว่า ราคาปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากข้อจำกัดในการใช้น้ำเชื่อมที่สกัดจากอ้อยเพื่อผลิตเอทานอล ทำให้ปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการน้ำตาลตามฤดูกาลที่ลดลง ด้านผู้เชี่ยวชาญกล่าวเสริมว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) และลมมรสุมฤดูฝนที่ไม่สม่ำเสมอนั้น โดยปกติแล้วจะทำให้ราคาน้ำตาลในประเทศปรับตัวสูงขึ้น แต่ด้วยการแทรกแซงของรัฐบาลอินเดีย ทำให้ราคาน้ำตาลในประเทศยังคงมีเสถียรภาพ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าข้อจำกัดด้านเอทานอลจะขยายไปจนถึงปี 2567/68 หรือไม่
-  รายงานเดือนธันวาคม 2566 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ปรับเพิ่มคาดการณ์การนำเข้าน้ำตาลของสหรัฐฯ ในปี 2566/67 จาก 2.80 ล้านตัน เป็น 2.90 ล้านตัน รวมถึงปรับเพิ่มคาดการณ์การนำเข้าน้ำตาลภายใต้ระดับกำแพงภาษีที่สูงเพิ่มขึ้นจาก 250,000 ตัน เป็น 414,000 ตัน โดยก่อนที่ USDA จะมีการรายงานข้อมูล ทางด้าน JSG Commodities แย้งว่า USDA มีการประเมินการนำเข้าน้ำตาลต่ำไป ซึ่ง JSG Commodities คาดการณ์อยู่ที่ 431,000 ตัน ในทำนองเดียวกัน นักวิเคราะห์ของ USDA กล่าวก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ทราบดีว่าอาจจำเป็นต้องนำเข้าน้ำตาลเพิ่มประมาณ 454,000 ตัน ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าผ่านโควตาภาษีที่ต่ำ (TRQ) หรือผ่านการนำเข้าภายใต้กำแพงภาษีที่สูง




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 16.50 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.45
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.40 บาท
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,319.30 เซนต์ (17.21 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,304.52 เซนต์ (17.02 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 421.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 425.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.12 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.01
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 50.16 เซนต์ (39.25 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 50.57 เซนต์ (39.57 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.93

 
 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 23.93 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.14
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 994.50 ดอลลาร์สหรัฐ (34.89 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,006.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.17 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 794.50 ดอลลาร์สหรัฐ (27.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 803.75 ดอลลาร์สหรัฐ (28.03 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.16 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,451.50 ดอลลาร์สหรัฐ (50.92 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,468.50 ดอลลาร์สหรัฐ (51.22 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.30 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 937.25 ดอลลาร์สหรัฐ (32.88 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 948.25 ดอลลาร์สหรัฐ (33.07 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.16 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,017.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.69 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,029.25 ดอลลาร์สหรัฐ (35.90 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.14 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.21 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.72 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.51
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.21 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.83 บาท ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.19
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,092  บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,922  บาท คิดเป็นร้อยละ 8.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,487 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,382 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.60 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 950 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 942 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.85 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้น เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  66.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.26 คิดเป็นร้อยละ 1.26 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 62.44 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.70 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 68.69 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.00 คิดเป็นร้อยละ 0.74 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคลดลงกว่าผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.67 คิดเป็นร้อยละ 0.17 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท
ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.37 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.50 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.00 คิดเป็นร้อยละ 1.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลง เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 376 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 379 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 363 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 389 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 431 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
 
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 410 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 412 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.49 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 425 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 423 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 382 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 432 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 465 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.83 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.24 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.41 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.65 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.75 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท
 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.08 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 66.58 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.59 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 61.39 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 11 - 17 ธันวาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.31 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 61.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท     
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.20 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.03 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.06 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 124.51 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.55 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 126.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.49 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 64.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.14 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.07 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.06 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 37.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 33.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.25 บาท